ภาษีที่ดิน 1

หนึ่งในประเด็นร้อนแรง ที่ท่านชัชชาติ ผู้ว่ากทม. หยิบยกมาพูดคือเรื่อง “ ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง” ที่ปรับเปลี่ยนเพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำให้กับสังคมไทย พบว่าตัวเลขในปีล่าสุด จัดเก็บภาษีได้น้อยกว่ากฏหมายเก่าหรือภาษีโรงเรือนและที่ดิน ห้างใหญ่จ่ายภาษีที่ดินน้อยลง ขณะที่ชานเมืองตัวเลขภาษีกลับเพิ่มขึ้น ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ไปหาคำตอบกัน

ภาษีที่ดินใหม่ ทำไม ห้างใหญ่จ่ายภาษีที่ดินน้อยลง

ย้อนไปก่อนที่กฏหมาย “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” จะเริ่มบังคับใช้ เดิมมี “ภาษีบำรุงท้องที่” และ “ภาษีโรงเรือนและที่ดิน” ที่จะจัดเก็บภาษีตามลักษณะรายได้และค่าเช่าที่ทำได้ หมายถึงหากเกิดประโยชน์หรือรายได้เท่าไหร่ ก็จะแบ่งสรรปันส่วนไปเป็นภาษีตามนั้น หรือที่เคยถูกคิดอยู่ 12.5% ของรายได้

แต่ด้วยการที่รัฐบาลเล็งเห็นพื้นที่มากมายถูกปล่อยไว้และไม่ได้เกิดการพัฒนาและใช้ประโยชน์ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จึงถูกนำมาแทนที่กฏหมายภาษีเดิม โดยจะคิดอัตราภาษีจากมูลค่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ ตามประเภท

ซึ่งประเภทอาคารพาณิชยกรรมมีอัตราเพดานภาษีสูงสุดแค่ 1.20% เท่านั้นเอง รวมถึงยังคิดภาษีจากมูลค่าที่ดินที่เมื่อเป็นอาคารเก่าก็จะมีค่าเสื่อมมูลค่าทำให้มูลค่าลดลงอีก ทำให้ทั้งที่จากเดิมห้างสรรพาสินค้าเคยจ่ายภาษีที่อัตรา 12.5% ของรายได้ด้วยซ้ำ

โดยในส่วนของพื้นที่ที่ถูกปล่อยรกร้างและไม่เกิดการสร้างประโยชน์ อัตราเพดานภาษีที่ 3.00% เพราะจากวัตถุประสงค์ที่ไม่อยากให้มีที่ดินรกราน ทำให้เป็นอัตราภาษีที่สูงสุดในบรรดาที่ดินทั้ง 4 ประเภทที่แบ่งตามลักษณะของการใช้งานและมูลค่าสินทรัพย์

จุดนี้เองเป็นการกระตุ้นพื้นที่เกิดวางแผนการใช้งานสร้างประโยชน์ให้กับพื้นที่เหล่านั้น ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ถือครองสิทธิเก็บอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมาก ก็จะต้องจ่ายภาษีที่มากกว่า ในขณะที่คนอยู่อาศัยจริงเสียภาษีน้อยกว่า คาดหวังให้ลดความเหลื่อมล้ำและเกิดการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน

ภาษีที่ดิน 2

ตัวเลขตัวอย่างการจัดเก็บภาษี ห้างใหญ่จ่าย ภาษีที่ดิน น้อยลง แค่ไหน?

แต่อย่างตัวเลขที่ท่านชัชชาติหยิบยกมาให้ดูคือ ห้างสรรพสินค้าจัดเก็บได้ลดลงเหลือเพียง 1 ใน 10 จาก 10 ล้านบาท เหลือเพียง 1 ล้านบาท เท่านั้น รวมถึงอาคารสำนักงานแห่งหนึ่ง เดิมเสียภาษีกว่า 11 ล้านบาท เพราะคำนวณจากค่าเช่าภายในสำนักงาน แต่เมื่อคิดภาษีรูปแบบใหม่ เหลือเพียง 3 ล้านบาท เพราะคิดตามมูลค่าที่ดิน และยิ่งเป็นอาคารเก่าก็ต้องคิดค่าเสื่อมเพิ่มไปอีก หรือแม้กระทั่งห้องเช่าและอาคารก็ลดลงเช่นกัน

จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่เราเก็บภาษีได้น้อยลงมาก รวมถึงมีงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ ได้น้อยลง อีกทั้งยังทำให้คนรวยยิ่งรวยขึ้น ขณะที่คนจนต้องแบกรับภาระมากขึ้น

อีกทั้งกฏหมายยังเปิดช่องโหว่อย่างห้องเช่าที่เป็นอาคารเอง หากเจ้าของย้ายชื่อตนไปอยู่ในห้องเช่าก็จะถือว่ามีสถานะเป็นที่อยู่อาศัย ทำให้ถูกจัดเก็บภาษีที่ต่ำ ซึ่งในความเป็นจริงอาคารเช่านั้นสามารถสร้างรายได้ได้ ทำให้ตัวเลขจัดเก็บภาษีจาก 4 ล้านบาท เหลือเพียง 7 หมื่นกว่าบาทเท่านั้น

ทบทวนกฏหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

โดยอัตราภาษีที่ดินในปัจจุบันจะแบ่งเป็น 4 ประเภทตามลักษณะของการใช้งาน และมูลค่าสินทรัพย์

ประเภทเกษตรกรรม เสียสูงสุด 0.15%

ประเภทที่พักอาศัย หากเป็นบ้านหลังหลัก ได้รับการยกเว้น 50 ล้านบาทแรก แต่หากเป็นคอนโดยกเว้น 10 ล้านบาทแรก สูงสุด 0.30%

ประเภทพาณิชยกรรม เสียสูงสุด 1.20%

หากเป็นที่รกร้าง จะถูกเก็บภาษีเพิ่ม 0.3% ทุก 3 ปี แต่สูงสุดไม่เกิน 3%

วิธีคำนวณ ภาษีที่ดิน

  1. ที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี
  2. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี
  3. ห้องชุด ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี

เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้ดังนี้ หากมีที่ดินมูลค่า 1 ล้านบาท โดยคำนวนจากเพดานภาษี

จะเสียภาษีตามอัตราภาษี “ที่ดินเกษตร 0.15%” เท่ากับ 1,500 บาท

เสียภาษีตามอัตราภาษี “ที่อยู่อาศัย 0.30%” เท่ากับ 3,000 บาท

เสียภาษีตามอัตราภาษี “ การใช้ประโยชน์เหนือจาก 1 และ 2  (พาณิชยกรรม) 1.20%” เท่ากับ 12,000 บาท

และเสียภาษีตามอัตราภาษี “ที่ดินรกร้างทิ้งไว้ว่างเปล่า 3.00%” เท่ากับ 30,000 บาท

เห็นได้ชัดว่า การเสียภาษีที่ดินรกร้างทิ้งไว้ว่างเปล่าต้องจ่ายเเพงกว่าที่ดินเกษตรถึง 20 เท่า จึงไม่แปลกที่หลายคนที่มีที่ดินจำนวนมากตื่นตัวหาทางจัดการภาษีที่ดิน

ปี 2566 ปรับลด ภาษีที่ดิน 15% ของภาษีที่คำนวณได้

ครม.มีมติเห็นชอบ ของขวัญปีใหม่เป็น มาตรการลดภาษีที่ดิน 25666 เพื่อ

ลดภาระภาษี สนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หลังโควิด-19

สิ้นสุดระยะเวลาบรรเทาภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562

ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างในปี 2566 ซึ่งใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีที่ดินเพิ่มขึ้น

โดยลดภาษีให้ในอัตรา 15% ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของปีภาษี 2566 ซึ่งคาดว่าปี 2566 คนไทยจะเสียภาษีที่ดินเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาประเมินที่ดินใหม่ทั้งประเทศรอบปี 2566-2569 ปรับขึ้นเฉลี่ย 8%

สิ่งที่ฝากถึงรัฐบาลใหม่

จากตัวเลขที่ท่านชัชชาติได้ฝากไว้ถึงรัฐบาลใหม่นั้น คือการทบทวนตัวบทกฏหมายภาษีอีกครั้ง เนื่องจากผลลัพธ์ของภาษีไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์ในการลดความเหลื่อมล้ำ แถมยังจัดเก็บจากคนรวยได้น้อยลงอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลต่องบประมาณพื้นที่ในอนาคตอีกด้วย

อีกทั้งการจัดเก็บแบบนี้อาจจะไม่ได้สะท้อนความสามารถในการสร้างรายได้ของพื้นที่นั้นๆ ซึ่งจะลดทอนโอกาสในเก็บภาษีที่มากขึ้น และหากพื้นที่เหล่านั้นไม่สามารถสร้างรายได้ อย่างในช่วง Covid-19 ก็จะเป็นภาระทางภาษีให้กับประชาชนในช่วงนั้นอีกด้วย


ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ชัยชนะในวิมเบิลดันของ Carlos Alcaraz เหนือ Novak Djokovic
สีของเทสลา และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมีเทสลาหลายรุ่นให้เลือก
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ปัญหาและกระบวนการของสิ่งแวดล้อม
บ้านน็อคดาวน์
ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://www.harigamiya.com/
สนับสนุนโดย  ufabet369
ที่มา www.moneybuffalo.in.th